บทนำ: คำอธิบายภาพรวมของสื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้เรื่อง “การพัฒนาหลักสูตรพหุวิทยาการและสหวิทยาการ (MDPs/IDPs) ในระดับบัณฑิตศึกษา” จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในหลักการสำคัญของการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการข้ามศาสตร์อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งหวังให้คณาจารย์และผู้เกี่ยวข้องสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบโจทย์ยุคใหม่ได้อย่างเหมาะสม
เนื้อหาในสื่อนี้ครอบคลุมตั้งแต่การทำความเข้าใจนิยามและความหมายของหลักสูตรพหุวิทยาการ (Multidisciplinary Programs: MDPs) และสหวิทยาการ (Interdisciplinary Programs: IDPs) การอธิบายความแตกต่างระหว่างสองแนวคิด ตลอดจนการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและบทบาทของหลักสูตรลักษณะนี้ต่อการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งในมิติของการพัฒนาทักษะแบบ T-shaped / π-shaped ของผู้เรียน และในมิติของการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับโจทย์เชิงระบบของสังคมในศตวรรษที่ 21
นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงแนวทางในการบริหารจัดการหลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Management) ที่เอื้อต่อความร่วมมือระหว่างคณะ หน่วยงาน และเครือข่ายสถาบันต่าง ๆ เพื่อให้การจัดการเรียนรู้แบบข้ามศาสตร์และข้ามพรมแดนสถาบันเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Introduction
อธิบายความเป็นมา ความจำเป็น และเป้าหมายของการพัฒนาหลักสูตร MDPs/IDPs
แนวโน้มของโลกการศึกษายุคใหม่ และปัญหาซับซ้อนที่ต้องอาศัยการบูรณาการศาสตร์
Session 1: เทรนด์การศึกษาในระดับอุดมศึกษา
นำเสนอแนวโน้มระดับโลก เช่น Lifelong Learning, Interdisciplinary Thinking, Global Competency
ความคาดหวังใหม่ต่อบัณฑิตในโลกอนาคต เช่น ความสามารถในการคิดเชิงระบบ การทำงานข้ามสาขา
Session 2: นโยบายด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
การผลักดันการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ในระดับบัณฑิตศึกษา
บทบาทของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการเป็นพื้นที่ของการบ่มเพาะนวัตกรรมทางการศึกษา
ยุทธศาสตร์การสนับสนุน MDPs/IDPs ภายใต้แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
Session 3: แนวทางการพัฒนาหลักสูตรพหุวิทยาการและสหวิทยาการ เพื่อตอบโจทย์อนาคต
แนวทางการพัฒนาหลักสูตร MDPs /IDPs
รูปแบบการบูรณาการองค์ความรู้แบบ T-shaped / π-shaped Skills
ตัวอย่าง หลักสูตรรูปแบบพหุวิทยาการและสหวิทยาการ
Session 4: หลักการ แนวคิด และแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร MDPs/IDPs
นิยาม ความหมาย ความแตกต่างระหว่าง MDPs และ IDPs
หลักการออกแบบหลักสูตร: Outcome-based Education, T-shaped / π-shaped Skills
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรร่วมกันแบบ Consortium
แนวทางการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการแบบบูรณาการ